user roles มีอะไรบ้าง

User Role คืออะไร แต่ละบทบาทมีความสามารถอะไรบ้าง

User role คืออะไร

User role หรือ การกำหนดสิทธิ์หรือบทบาทของผู้ใช้ ในตอนเริ่มต้นใช้งาน WordPress จะมีการกำหนดบทบาทเข้าใช้งานไว้ล่วงหน้า บทบาทเหล่านี้ จะได้แก่ Administrator(ผู้ดูแลเว็บไซต์) Editor(ผู้แก้ไข) Author(ผู้เขียน) Contributor(ผู้มีส่วนร่วม) Subscriber(ผู้อ่านหรือผู้ติดตาม) ซึ่งบทบาทเหล่านี้จะสามารถเพิ่มลบหรือแก้ไขได้ และจะมีประโยชน์มากถ้ามีผู้ใช้งานเว็บไซต์หลายคน โดยในบทความนี้เราจะมาอธิบายความหมายของบทบาทเหล่านี้ว่ามีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลอย่างไรบ้าง

1. Administrator (ผู้ดูแลเว็บไซต์)
2. Editor (ผู้แก้ไข)
3. Author (ผู้เขียน)
4. Contributor (ผู้มีส่วนร่วม)
5. Subscriber (ผู้อ่านหรือผู้ติดตาม)
6. ตารางสรุปความสามารถในการใช้งาน WordPress →
7. วิธีการเพิ่ม User Roles →

administrator

Administrator (ผู้ดูแลเว็บไซต์)

จะมีระดับการเข้าถึงข้อมูลที่สูงสุดหรือเรียกได้ว่ามีความสามารถเต็มรูปแบบ ที่จะใช้งานหรือปรับแต่งสิ่งใดก็ได้ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ และผู้ดูแลเว็บไซต์นั้นยังสามารถเพิ่มหรือลบผู้ใช้รายอื่นที่มีบทบาทเดียวกันได้ เมื่อกำหนดบทบาทให้แก่ผู้ใช้

ต้องคำนึงไว้ว่า ผู้ดูแลระบบสามารถที่จะลบเนื้อหาใดก็ได้บนเว็บไซต์ ซึ่งตัวอย่างความสามารถของผู้ดูแลเว็บไซต์ก็คือ การอัพเกรด WordPress เปลี่ยนธีมและแก้ไขไฟล์ WordPress ใดๆ นอกจากนั้นยังมีความสามารถในการเพิ่ม ลบ และแก้ไขปลั๊กอินบนเว็บไซต์

editor

Editor (ผู้แก้ไข)

Editor นั้นมีความสามารถในการเขียน แก้ไข เผยแพร่ และลบโพสต์หรือเพจ ซึ่งรวมถึงโพสต์หรือเพจที่เขียนโดยผู้ใช้รายอื่น และยังสามารถกรอง อนุมัติ และลบความคิดเห็น

สิทธิ์ของ Editor นั้นมีมากกว่าแค่การเพิ่มและลบเนื้อหา พวกเขายังสามารถจัดการหมวดหมู่ แท็ก หรือแม้แต่อัปโหลดไฟล์ เนื่องจาก Editor สามารถลบโพสต์หรือเพจได้ แม้กระทั่งโพสต์หรือเพจที่เผยแพร่แล้ว ขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้คุณมอบหมายบทบาทนี้ให้กับผู้ใช้ที่คุณไว้วางใจเท่านั้น

author

Author (ผู้เขียน)

Author หมายถึงผู้ใช้ที่มีบทบาทเป็นผู้เขียน ที่สามารถอัปโหลดไฟล์ เขียน แก้ไข เผยแพร่ และลบบทความของตนเองได้ พวกเขายังสามารถแก้ไขโปรไฟล์และเปลี่ยนรหัสผ่านของตนเองได้ โดยในเว็บไซต์ที่มีผู้เขียนหลายคนมักจะกำหนดบทบาท Author (ผู้มีส่วนร่วม)ให้กับผู้เขียน วิธีนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการสื่อสารหรือการเขียนที่ผิดพลาด

สิทธิ์ Author นี้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เนื่องจากจัดการบทความได้แค่ในส่วนของตนเองเท่านั้นทำให้เกิดผลกระทบกับเว็บไซต์น้อยที่สุด

contributor

Contributor (ผู้มีส่วนร่วม)

Contributor นั้นสามารถที่จะแก้ไขและลบโพสต์ของตนเอง แต่ยังไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองได้ต้องผ่านการอนุมัติจาก Editor (ผู้แก้ไข) และยังไม่สามารถแก้ไขหรือลบโพสต์ที่เผยแพร่แล้วได้ สิ่งนี้ทำให้บทบาท Contributor ( ผู้มีส่วนร่วม) เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับเจ้าของเว็บไซต์ WordPress ที่ต้องการอนุญาตให้ผู้อื่นมาเขียนบนเว็บไซต์ โดยบทบาท Contributor (ผู้มีส่วนร่วม) นั้นจะไม่สามารถอัพโหลดไฟล์ใดๆได้

subscriber

Subscriber (ผู้อ่านหรือผู้ติดตาม)

บทบาทของ Subscriber (ผู้อ่านหรือผู้ติดตาม) จะมีความสามารถที่จำกัดมาก Subscriber (ผู้อ่านหรือผู้ติดตาม) ไม่สามารถเขียนหรือเผยแพร่บทความได้ จะมีหน้าที่ในการอ่าน หรือรับข่าวสารใหม่ๆจากทางเว็บไซต์เท่านั้น

Summary User Role

user-roles

วิธีการเพิ่ม User Roles

how-to-add-user-role

Login เข้าหน้า Dashboard
เลือกเมนู User >> Add New

กรอกข้อมูล
1. Username จำเป็นต้องใส่ เพื่อเอาไว้ใช้ตอน Login เข้าสู่ระบบ

2. Email จำเป็นต้องใส่ หากลืมรหัสผ่าน เราสามารถกดลืมรหัสผ่าน แล้วเราจะได้รับอีเมลแจ้งเตือนการเปลี่ยนรหัสผ่านที่อีเมล และ จะเป็นตัวเชื่อมในการเพิ่มรูปภาพ Profile ให้เรา

3. First name จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ สามารถแก้ไขได้ในภายหลัง

4. Last Name จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ สามารถแก้ไขได้ในภายหลัง

5. Website จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ สามารถแก้ไขได้ในภายหลัง

6. Generate Password สามารถกดปุ่มนี้เพื่อให้ระบบสร้าง Password ให้ ระบบจะประมวลและเลือกพาสเวิร์ดที่ยากต่อการถูกแฮกมาให้ใช้ (ควรคัดลอกพาสเวิร์ดเก็บไว้)

7. Password หากอยากตั้งพาสเวิร์ดเองก็สามารถทำได้ แต่ควรตั้งพาสเวิร์ดให้ยาก เพื่อป้องกันการถูกแฮก

8. Role คือ การกำหนดสิทธิของผู้ใช้งาน ว่าเราต้องการให้เขาได้สิทธิอะไร สามารถเลือกได้ 1 สิทธิ์

9. Add New User กดเพื่อสร้าง User หลังจากกรอกข้อมูลทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว

กล่าวโดยสรุปคือ การเลือกบทบาทการเข้าใช้งาน WordPress นั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากเราให้ผู้ที่ไม่มีความเชียวชาญมีบทบาทในระดับที่สูง อาจจะทำให้เว็บไซต์เกิดความเสียหายได้

หากคุณอยากได้เว็บไซต์ที่มีคุณภาพ ที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต สนใจรับคำปรึกษาฟรี

Tags:
JB Phattanyapron
in-mint@hotmail.com